การปลุกเสกคืออะไร

การปลุกเสกคืออะไร

07 ก.พ. 2564   ผู้เข้าชม 1,352

1. วิธีการสวดอัดประจุคาถา การเสกว่าคาถาบทสวดต่างๆ เช่น บทสวดเจ็ดตำนาน คาถาชินบัญชร นี่ก็เป็นการอาราธนาบารมีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเทวดา หรือพรหมมาช่วย แต่ว่าคาถาบางอย่างก็จะว่าแต่เฉพาะบางจุด เรียกว่าคาถาพุทธาคม ซึ่งสมาธิขั้นฌาณ4 เป็นต้นไป จะว่ากล่าวคาถาพุทธาคมบทใดก็บังเกิดความศักดิ์สิทธิ์ทั้งสิ้น

    ส่วนคาถาไสยศาสตร์นั้นความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นอยู่กับบทมนต์คาถาทุกอักขระที่ประจุ เคล็ดวิชาขั้นตอนพิธีการ และแรงวิญญาณของครูบาอาจารย์ผนวกรวมกัน หากผู้เสกที่เป็นพระเกจิ หรือฆราวาสเป็นผู้มีวิชาอาคมมาก และสร้างถูกต้องตามตำรา และได้รับการครอบครูบาอาจารย์ถ่ายทอดวิชามาอย่างถูกขั้นตอน วัตถุมงคลย่อมมีพลังสูงมาก ปลุกเสกต้องถึง เช่น

    ถ้าบูรพาจารย์กำหนดให้จัดเครื่องบูชาครูในวันพฤหัส ขึ้น ๑๕ ค่ำ ก็ต้องรอวันดังกล่าวถึงเริ่มพิธีกรรมได้ และเสกวัตถุมงคลให้ได้อย่างน้อย ๗ เสาร์ ๗ อังคาร และปลุกเสกเดี่ยววันละไม่ต่ำกว่า ๓ ชั่วโมง เป็นต้น

    ไสยศาสตร์เป็นเรื่องลี้ลับ เป็นเรื่องของพลังอำนาจจิต ต้องอาศัยศรัทธาเชื่อมพลังจิตที่ประจุในวัตถุอาถรรพณ์ เปิดช่องทางของปาฏิหาริย์ให้ผู้ประสบพบได้ว่าความศักดิ์สิทธิ์และพลังแห่งพุทธาคมมีอยู่จริง อาศัยจิตที่สำเร็จและแรงวิญญาณของครูบาอาจารย์ผนวกรวมกัน ช่วยประสิทธิ์ทุกอย่างให้สัมฤทธิ์ผล


    2. วิธีการอธิษฐานจิต สามารถทำได้สองแบบ
       แบบแรก คือ การอธิษฐานจิตอ้างถึงการอาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอริยสาวก ทั้งหมด พรหมหรือเทวดาชั้นฟ้าทั้งหมดขออนุเคราะห์ท่านมาช่วยช่วยดลบันดาลให้พระเครื่องสร้างขึ้นนี้สูงสุดด้วยพระพุทธานุภาพ และกฤตยานุภาพ

       ส่วนแบบที่สอง อธิษฐานอ้างถึงบุญญาบารมีคุณงามความดี ความมีศรัทธาพระบวรพุทธศาสนา และผลบุญกุศลที่ตั้งมั่นอยู่ในการประกอบแต่กรรมดี ทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติของตัวพระเกจิหรือฆราวาสของตัวผู้ปลุกเสกเอง ได้ช่วยดลบันดาลให้พระเครื่องสร้างขึ้นนี้สูงสุดด้วยพระพุทธานุภาพ และกฤตยานุภาพ คุ้มครองให้คลาดแคล้วผองภัยพิบัติ อำนวยความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้ที่ได้นำไปสักการบูชา

     โดยมีหลักการ เริ่มจากการเข้าสมาธิให้เข้าถึงจตุถฌานเรียกอีกอย่างว่าฌาณ4 เป็นอย่างต่ำ หรืออย่างสูงเข้าถึงฌาณสมาบัติ ๘ แล้วก็คลายสมาธิลงระดับสมาธิขั้นกลางแล้วจึงอธิษฐานจิตเสกวัตถุมงคล หรือ คลายสมาธิลงจากขั้นฌาณมาพิจารณาวิปัสสนาญาณ จนกระทั่งอารมณ์จิตเป็นแก้วทั้งหมด เป็นแก้วประกายพฤกษ์ทั้งหมดแล้วจึงเข้าสมาธิใหม่ จัดเป็นโลกุตตรญาณ แล้วก็อธิษฐานจิต (ที่มา หนังสือประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค)


   3. วิธีเจริญกัมมัฏฐานเดินอารมณ์กัมมัฏฐานเพ่งกระแสจิตไปยังวัตถุมงคล ถ้าให้เป็นเมตตาระหว่างนั่งเราก็กำหนดอารมณ์ที่สงบนิ่ง เยือกเย็น ในการเจริญกัมมัฏฐาน แต่ถ้าต้องการให้อยู่ยงคงกระพัน ก็ใช้อารมณ์ที่แข็งกร้าว เหี้ยมโหด ในการเจริญกัมมัฏฐาน หรือการเพ่งกสิณไฟในการปลุกเสกให้เกิดพลังของหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค


  4. วิธีทิพยจักขุญาณ ถ้าพระเข้าขั้นที่เรียกว่าได้ทิพยจักษุญาณโดยมากเขาไม่ทำเองนะ เขาเที่ยววานชาวบ้านมาทำ พูดว่าชาวบ้านมันก็ต่ำไป วานพระมาทำ พระพุทธเจ้าบ้าง พระปัจเจกพุทธเจ้าบ้าง พระอริยสงฆ์บ้าง เทวดาชั้นฟ้าบ้าง พรหมบ้าง อันนี้ก็สบายดี แต่หากว่าทำเองไม่ช้ามันก็เจ๊ง ตัวเองยังคุ้มครองตัวเองไม่ค่อยได้ คนทำมันก็ตายนี่ แล้วมันจะไปคุ้มครองความตายของใครเขาได้ นี่ว่ากันตามธรรมดานะ

     การเสกพระเสกเจ้า หรือเสกผ้ายันต์ เสกอะไรต่ออะไรพวกนี้ ถ้าเราเอาตัวของเราออกเสีย เราไม่เข้าไปยุ่ง แต่อาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอริยสาวกทั้งหมด พรหมหรือเทวดาทั้งหมดท่านมาช่วย ท่านทำประเดี๋ยวเดียว ๒-๓ นาทีมันก็เสร็จ ดีกว่าเราทำ ๑,๐๐๐ ปี แล้วเราจะเอาอะไรบ้างก็อาราธนาบอกท่าน บอกว่าขอให้ใช้ได้อย่างนั้นอย่างนี้ (ที่มา หนังสือประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค)


    5. วิธีหัวใจธาตุ เสกจะประจุอาคมพระเวทย์ จิต ตั้งธาตุ หนุนธาตุ เรียกอาการ 32 เรียกนาม จนเกิดเป็นวิญญาณอุบัติขึ้นมา โดยนั่งบริกรรมเรียงล้อมวัตถุมงคลโดยรอบหรือนั่งปลุกเสกบริกรรมทั้ง 8 ทิศ เดินกระแสจิตอณุโลม ปฏิโลม เพื่อให้วัตถุบริสุทธิ์ต่อด้วยการ 32 เพื่อทำให้วัตถุมงคลประดุจดังมีชีวิตจริงรับรู้และรู้เห็นภัยอันตรายที่คืบคลานเข้ามาใกล้เคหะสถานหรือตัวบุคคลที่มีวัตถุมงคลติดตัวและอธิฐานจิตได้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ครอบครองวัตถุมงคล คือ การรับรู้และเดินธาตุ 4 เตโช ปฐวี วาโย อาโป คือ ธาตุ ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ


บทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าคำ คืออะไร และความหมายของจุดที่ลงคำหรือลงทอง
31 ม.ค. 2564

เข้าคำ คืออะไร และความหมายของจุดที่ลงคำหรือลงทอง

พิธีกรรมล้านนา
ลงนะหน้าทอง หรือ เข้าคำ จุดไหน ให้เหมาะสมกับอาชีพ
02 ก.พ. 2564

ลงนะหน้าทอง หรือ เข้าคำ จุดไหน ให้เหมาะสมกับอาชีพ

พิธีกรรมล้านนา